
จังหวัดภูเก็ต รับมอบธงสัญลักษณ์ เจ้าภาพจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ “Thailand Biennale 2025” ครั้งที่ 4 อย่างเป็นทางการ ที่จะจัดขึ้นในเดือนธันวาคม 2568-เมษายน 2569 ในธีม “มหัศจรรย์แห่งการเดินทาง” The Never Ending Journey พร้อมเดินหน้าเตรียมความพร้อมจัดงานทันที ด้านเอกชนคาดจัดงานที่ภูเก็ต 5 เดือน มีนักท่องเที่ยวเข้าเพิ่ม 5 ล้านคน สร้างรายได้ให้ภูเก็ตกว่า 40,000 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2567 กระทรวงวัฒนธรรมจัดงานฉลองความสำเร็จ “Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 อย่างยิ่งใหญ่ พร้อมจัดพิธีมอบธงสัญลักษณ์ให้ภูเก็ต เจ้าภาพจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ “Thailand Biennale 2025” อย่างเป็นทางการ ซึ่งได้รับเกียรติจากนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ประธานในพิธีมอบธงสัญลักษณ์โครงการการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale รับธงจากนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ส่งมอบธงให้ นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เจ้าภาพจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ “Thailand Biennale 2025” มหัศจรรย์แห่งการเดินทาง (The Never Ending Journey) อย่างเป็นทางการ

โดยมี นายเรวัต อารีรอบ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต นางอัญชลี วานิช เทพบุตร นายกสมาคมนายกสมาคมศิลป์ภูเก็ต นายก้องศักดิ์คู่พงศกร ประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชน จังหวัดภูเก็ต ที่เกี่ยวข้อง ร่วมรับมอบธง กว่า 300 คน

โดยจังหวัดภูเก็ตได้ขนทัพนักแสดง ทั้งกลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงอายุ ร่วมแสดงผ่านบทเพลงปักษ์ใต้บ้านเราและภูเก็ตเมืองงาม ที่สอดประสานแสดงถึงความพร้อมของจังหวัดภูเก็ตในการที่จะรังสรรค์ผลงานศิลปะและต้อนรับผู้มาเยี่ยมเยือนในห้วงเวลาของการจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ “Thailand Biennale 2025” มหัศจรรย์แห่งการเดินทาง (The Never Ending Journey) ระหว่างเดือนธันวาคม 2568 – เมษายน 2569

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า สืบเนื่องจากนโยบาย Soft Power ของรัฐบาล ซึ่งเป็นนโยบายเรือธงที่ผลักดันต่อให้ Soft Power เป็นแม่เหล็กที่ดึงดูดคนทั่วโลกให้เข้ามาเที่ยวในประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นปลายทางของคนทั่วโลก กระทรวงวัฒนธรรม จึงนำงานด้านศิลปะและการจัดเทศกาล เป็นประสำคัญในการขับเคลื่อน Soft Power เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ สังคม และการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ โดยมอบหมายให้สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย นำงานด้านศิลปะและการจัดเทศกาลลงสู่การปฏิบัติ ผ่านการจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ซึ่งเป็นงานศิลปะระดับโลกของประเทศไทย เริ่มจัดงานตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมาถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 นี้

มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 เป็นผลงานสำคัญของกระทรวงที่นำทุนทางศิลปวัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อมขับเคลื่อนผ่านงานศิลปะและกิจกรรมต่าง ๆ อีกทั้งบูรณาการความร่วมมือกับจังหวัดเชียงราย องค์ภาครัฐและเอกชน และกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นด้วยความพร้อมของการจัดงานในครั้งนี้ ทั้งด้านสถานที่ พลังความร่วมมือของชุมชน เครือข่ายศิลปินที่มีจำนวนมากที่สุดของประเทศ งานThailand Biennale, Chiang Rai 2023 จึงประสบความสำเร็จอย่างสูง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และภาพลักษณ์ของประเทศ

ความสำเร็จทางด้านเศรษฐกิจ ด้วยความยิ่งใหญ่ของการจัดงานที่มีประกอบด้วย 1.การจัดนิทรรศการหลักในเขตอำเภอเมืองและเชียงแสน จำนวน 17 แห่ง มีศิลปินเข้าร่วมมากถึง 60 คน จาก 21 ประเทศจากทั่วทุกทวีป ประกอบด้วยศิลปินต่างประเทศ 38 คน และศิลปินไทย 22 คน 2. การจัดแสดงนิทรรศการในรูปแบบศาลา หรือ Pavilions จำนวน 13 แห่ง และ 3. การจัดกิจกรรมคู่ขนาน Collateral Events กว่า 150 กิจกรรม เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยสู่เด็ก เยาวชน นักศึกษา ศิลปิน และประชาชนตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้งหมดนี้ทำให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้าชมงานกว่า 2,790,964 คน และสามารถเข้าถึงการจัดงานทั้งทั้งในพื้นที่และสื่อสังคมออนไลน์ สูงกว่า 25,194,652 คน/view สร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงรายและกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 ถึงกุมภาพันธ์ 2567 มูลค่ากว่า 24,000 ล้านบาท ในด้านสังคมการจัดงานครั้งนี้ ทำให้เกิดการเพิ่มอัตราการจ้างงานในระบบประกันสังคมในพื้นที่กว่า 844 อัตรา

สามารถสร้างการรับรู้ สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ศิลปิน ประชาชนชาวเชียงราย ควบคู่กันไป โดยแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 3 รูปแบบได้แก่ 1. เพื่อแสดงผลงานศิลปะการจัดวางเฉพาะพื้นที่ (Site Specific Installation) โดย ซึ่งตลอดระยะเวลา 5 เดือน มีผู้เข้าชม จากเครือข่ายศิลปินทั้งในและต่างประเทศทั้งในอำเภอเมืองและอำเภอใกล้เคียง มีผู้เข้าชมจำนวนทั้งสิ้นกว่า 42,893 คน .ในด้านภาพลักษณ์ของประเทศ

นายเสริมศักดิ์ กล่าวต่อว่า เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินงาน ขณะนี้กระทรวงวัฒนธรรมได้ประกาศให้จังหวัดภูเก็ตเป็นเจ้าภาพของการจัดงานในปี 2025 เรียบร้อยแล้ว โดยจัดให้มีพิธีมอบธงสัญลักษณ์โครงการการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale จากจังหวัดเชียงราย จังหวัดเหนือสุดแดนสยามที่งดงามด้วยธรรมชาติ ประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม สู่จังหวัดภูเก็ต ดินแดนไข่มุกแห่งอันดามัน ณ หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย ซึ่งจังหวัดภูเก็ตได้นำศิลปินและเครือข่ายเดินทางเข้าร่วมงานจำนวนกว่า 300 คน แสดงให้เห็นถึงการตื่นตัวอย่างมากของจังหวัดภูเก็ต

ทั้งนี้ ในด้านการเตรียมการจัดงานในครั้งต่อไป กระทรวงวัฒนธรรม โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยและจังหวัดภูเก็ต ได้เริ่มมีการศึกษาพื้นที่ พูดคุยกับภาคส่วนต่าง ๆ ของจังหวัดภูเก็ต มีเตรียมความพร้อม การประกวดมาสคอตของจังหวัด รวมถึงมีการจัดตั้งคณะกรรมการในการดำเนินงานจำนวน 2 ชุด ประกอบด้วยคณะกรรมการอำนวยการ และคณะกรรมการาดำเนินงาน ซึ่งมีการประชุมครั้งที่1 แล้ว เมื่อวันที่ 25 เมษายน ที่ผ่านมา โดยแผนการทำงานในระยะต่อไป คือการเตรียมการคัดเลือกภัณฑารักษ์

และการกำหนด theme ของการสร้างสรรค์ผลงานจังหวัดภูเก็ต และการคัดเลือกศิลปิน ด้วยความพร้อมของจังหวัดภูเก็ต เชื่อได้ว่าการจัดงาน Thailand Biennale, Phuket 2025 จะมีความยิ่งใหญ่ ขับเคลื่อนต้นทุนที่เป็น Soft Power ให้สามารถสร้างเศรษฐกิจ สังคม และภาพลักษณ์ของประเทศได้ไม่น้อยกว่าจังหวัดเชียงรายอย่างแน่นอน

ด้านนายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตทั้งภาครัฐเอกชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความพร้อมในการจัดงานให้มีความยิ่งใหญ่เพื่อส่งเสริมทั้งเรื่องของศิลปะ soft power และการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต และเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวและชื่นชมศิลปะที่จะแสดงในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตต่อไป
